มาดูแลไตของเรากันเถอะ

05 เมษายน 2565


มาดูแลไตของเรากันเถอะ

ไต คือ อะไร

เป็นอวัยวะที่มีรูปร่างคล้ายถั่วแดง ขนาดเท่ากำปั้นอยู่บริเวณบั้นเอวทั้ง 2 ข้าง

หน้าที่ของไต

1.ขับน้ำละของเสียจากเลือดออกจากร่างกาย

2.ควบคุมปริมาณน้ำและเกลือแร่ ความเป็นกรด-ด่าง

3.ควบคุมสมดุลของเกลือแร่

4.ควบคุมการทำงานของฮอร์โมนที่ควบคุมความดันโลหิต

5.สร้างฮอร์โมนที่กระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง

โรคไตเรื้อรังคืออะไร

ภาวะที่เนื้อไตถูกทำลายอย่างถาวร ทำให้ไตเสื่อมการทำงานและฝ่อลง เข้าสู่ไตวายระยะสุดท้ายในที่สุด

ต่างจากภาวะไตวายเฉียบพลันซึ่งหากสามารถแก้ไขสาเหตุได้แล้ว ค่าการทำงานของไตอาจจะดีขึ้นจนกลับมาปกติได้

สาเหตุของโรคไตเรื้อรัง

อันดับ1 โรคเบาหวาน

อันดับ2 โรคความดันโลหิตสูง

สาเหตุอื่นๆ

  • นิ่วในไต
  • ไตอักเสบเรื้อรัง เช่น การติดเชื้อ หรือโรคSLE  โรคหลอดเลือดฝอยอักเสบ
  • โรคทางพันธุกรรมถุงน้ำในไต
  • โรคเก้าท์ หรือภาวะกรดยูริกในเลือดสูงนานๆ
  • โรคไตเสื่อมจากการทายาแก้ปวด สมุนไพรต่างๆ,ยาลูกกลอนเป็นเวลานาน

อาการของโรคไตวาย

  • ในระยะแรกอาจไม่มีอาการใดๆ พบได้จากการตรวจเลือดและตรวจปัสสาวะ
  • ปัสสาวะผิดปกติ เช่น ปัสสาวะมีฟอง มีเลือดปน สีขุ่นหรือแสบขัดสงสัยการติดเชื้อ
  • ปริมาณของปัสสาวะเริ่มลดลง ไม่สมดุลกับปริมาณน้ำที่ดื่มเข้าใป
  • มีภาวะบวมโดยเฉพาะบริเวณ ขาและใบหน้า
  • ซีด อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร

 

โรคไตวายรักษาหายได้ไหม

  • ไม่สามารถรักษาให้หายเป็นปกติได้
  • เน้นการชะลอเสื่อมของไต เช่น การจำกัดการบริโภคโปรตีนอย่างเหมาะสม
  • แก้ไขปัจจัยเสี่ยง เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน บุหรี่

ป้องกันอย่างไรไม่ให้เป็นโรคไต

  • ตรวจสุขภาพประจำปีสม่ำเสมออย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  • ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสเค็มจัด รสจัด อาหารแปรรูปต่างๆ
  • หลีกเลี่ยงการใช้สมุนไพร ยาแก้ปวดแก้ยอก ยาต้มยาหม้อ
  • หลีกเลี่ยงการกลั้นปัสสาวะนานๆ
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ควบคุมโรคปัจจัยเสี่ยง เช่น ความคุมความดันโลหิตไม่เกิน 130/80 มิลิเมตรปรอท,ควบคุมระดับน้ำตาลสะสมต่ำกว่า 7 % (ขึ้นกับความเห็นของแพทย์ที่ดูแลในแต่ละราย)

 

 


แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด

ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

ข้อมูลเพิ่มเติม

แพ็กเกจการคลอดแบบพรีเมียม
รพ.สมิติเวชชลบุรี

ข้อมูลเพิ่มเติม

โปรแกรมตรวจสุขภาพ Happy Life Program

ข้อมูลเพิ่มเติม

วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก 4 สายพันธุ์ (3 เข็ม) HPV vaccine-4 valent

ข้อมูลเพิ่มเติม

โปรแกรมคลอดบุตร สมิติเวชชลบุรี

ข้อมูลเพิ่มเติม

ลดน้ำหนักด้วยปากกา

ข้อมูลเพิ่มเติม

IV DRIP ดริปวิตามิน สูตรกระจ่างใส

ข้อมูลเพิ่มเติม

Sleep Test ตรวจคุณภาพการนอน ค้นหาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ นอนโรงพยาบาล 1 คืน

ข้อมูลเพิ่มเติม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด

เมื่อลูกน้อย...เท้าบิดหมุนเข้าใน

เด็กที่เดินแล้วมีปลายเท้าชี้เข้าหากัน เกิดจากการบิดหมุนของขาตั้งแต่สะโพกลงมา มีลักษณะการเดินผิดปกติและปัญหาเรื่องความสวยงามของขาที่ผิดรูป การตัดรองเท้าอาจพิจารณาในรายที่เป็นมากจนเท้าสะดุดกันเองเวลาวิ่ง เด็กที่มีเท้าบิดหมุนเข้าใน เด็กที่เดินแล้วมีปลายเท้าชี้เข้าหากันเกิดจากการบิดหมุนของขาตั้งแต่สะโพกลงมา แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ต้นขา หน้าแข้ง และเท้า แต่ละส่วนมีแนวทางการตรวจติดตาม และรักษา แตกต่างกันเล็กน้อย การบิดหมุนของส่วนต้นขา พบมากที่สุด ส่วนใหญ่จะหายได้เอง ก่อนอายุ 10 ปี การดัดและการตัดรองเท้า ไม่ช่วยในการหาย พยายามเลี่ยงการนั่งในท่า W แต่ไม่จำเป็นต้องให้นั่งขัดสมาธิ ในเด็กที่ทำไม่ได้ อาจให้นั่งเหยียดขาแทนเวลานั่งพื้น การตัดรองเท้าอาจพิจารณาในรายที่เป็นมากจนเท้าสะดุดกันเองเวลาวิ่ง การผ่าตัดอาจไม่จำเป็นถ้าไม่มีปัญหาในการดำรงชีวิต และหากจะทำควรทำเมื่อเด็กโตมากแล้ว การบิดหมุนของหน้าแข้ง พบได้น้อยเมื่อเทียบกับบริเวณอื่น ส่วนใหญ่จะหายเองก่อนอายุ 4 ปี การรักษาเบื้องต้นเพียงติดตามอาการเท่านั้น การผ่าตัดอาจไม่จำเป็นถ้าไม่มีปัญหาในการดำรงชีวิต และหากจะทำควรทำเมื่อเด็กโตมากแล้ว การบิดหมุนที่เท้า พบได้ค่อนข้างบ่อย สังเกตได้จากเท้าจะโค้งคล้ายกล้วย ถ้าสามารถดัดได้ง่าย โอกาสหายเองสูง ถ้าดัดได้ยากอาจพิจารณาใส่เฝือกหรือตัดรองเท้าช่วย ส่วนใหญ่หายเองก่อน 4 ขวบ ในกรณีที่ยังเป็นจนโต อาจพิจารณาผ่าตัดในรายที่มีปัญหาการใส่รองเท้า และกังวลเรื่องความสวยงาม