การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง

17 มิถุนายน 2565


การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiography)

                  ใช้หลักการส่งคลื่นเสียงที่ปลอดภัยเข้าไปในทรวงอก แล้วรับเสียงที่สะท้อนออกมาไปแปลเป็นภาพให้เห็นบนจอ ซึ่งจะแสดงถึงรูปร่างขนาดการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจและลิ้นหัวใจ ว่าปกติหรือไม่

ประโยชน์ของการตรวจการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง 

  •  ประเมินขนาดของหัวใจตามแรงการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจผ่านผนังหน้าอก
  • ความผิดปกติและการทำงานของลิ้นหัวใจ
  • ภาวะน้ำในเยื่อหุ้มหัวใจ  หรือภาวะเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
  • หัวใจโต
  • ตรวจหาภาวะหัวใจพิการแต่กำเนิด ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของอาการเหนื่อยหอบหรือแน่นหน้าอก

ใครควรได้รับการตรวจ

  • ภาพเอกซเรย์ทรวงอก พบว่ามีหัวใจโต
  • มีอาการเหนื่อยง่าย
  • ขาบวม 
  • อาการอื่นๆ ที่มีโอกาสเป็นโรคลิ้นหัวใจ

ชนิดของการทำ Echocardiogram

  1. Tranthoracic echocardiogram   การทำ Echocardiogram  ผ่านผนังทรวงอก เป็นชนิดที่ได้รับความนิยม เนื่องจากทำได้ง่าย สะดวก ไม่ต้องเตรียมตัว รวมถึงไม่ต้องงดน้ำและอาหาร แต่มีข้อจำกัดในคนที่มีผนังหน้าอกหนาหรือมีช่องระหว่างซี่โครงแคบ หรือมีผนังหน้าอกผิดรูป
  2. Tranesophageal echocardiogram  การทำ Echocardiogram โดยการส่องกล้องผ่านหลอดอาหาร เป็นการตรวจบันทึกภาพของหัวใจจากด้านในหลอดอาหารวิธีนี้จะเห็นการเคลื่อนไหวหรือการทำงานของหัวใจชัดกว่าวิธีแรก สามารถวินิจฉัยความผิดปกติได้ว่าเกิดจากความผิดปกติที่ผนังหัวใจหรือลิ้นหัวใจ
  3. Intracardiac echocardiogram การทำ Echocardiogram โดยการใส่สายเข้าไปในห้องหัวใจโดยตรง  ซึ่งยังไม่เป็นที่แพร่หลาย

การเตรียมตัวก่อนการตรวจ

             ไม่ต้องงดน้ำและอาหาร ยกเว้น ตรวจโดยการส่องกล้องผ่านหลอดอาหาร ต้องงดน้ำและอาหารอย่างน้อย 4-6 ชั่วโมง

  ► ปรึกษาแพทย์ออนไลน์ หรือ โทร 096-9173851

           


แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด

วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก 4 สายพันธุ์ (3 เข็ม) HPV vaccine-4 valent

ข้อมูลเพิ่มเติม

Sleep Test ตรวจคุณภาพการนอน ค้นหาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ นอนโรงพยาบาล 1 คืน

ข้อมูลเพิ่มเติม

โปรแกรมตรวจสุขภาพ Happy Life Program

ข้อมูลเพิ่มเติม

IV DRIP ดริปวิตามิน สูตรกระจ่างใส

ข้อมูลเพิ่มเติม

แพ็กเกจการคลอดแบบพรีเมียม
รพ.สมิติเวชชลบุรี

ข้อมูลเพิ่มเติม

ลดน้ำหนักด้วยปากกา

ข้อมูลเพิ่มเติม

ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

ข้อมูลเพิ่มเติม

โปรแกรมคลอดบุตร สมิติเวชชลบุรี

ข้อมูลเพิ่มเติม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด

เมื่อลูกน้อย...เท้าบิดหมุนเข้าใน

เด็กที่เดินแล้วมีปลายเท้าชี้เข้าหากัน เกิดจากการบิดหมุนของขาตั้งแต่สะโพกลงมา มีลักษณะการเดินผิดปกติและปัญหาเรื่องความสวยงามของขาที่ผิดรูป การตัดรองเท้าอาจพิจารณาในรายที่เป็นมากจนเท้าสะดุดกันเองเวลาวิ่ง เด็กที่มีเท้าบิดหมุนเข้าใน เด็กที่เดินแล้วมีปลายเท้าชี้เข้าหากันเกิดจากการบิดหมุนของขาตั้งแต่สะโพกลงมา แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ต้นขา หน้าแข้ง และเท้า แต่ละส่วนมีแนวทางการตรวจติดตาม และรักษา แตกต่างกันเล็กน้อย การบิดหมุนของส่วนต้นขา พบมากที่สุด ส่วนใหญ่จะหายได้เอง ก่อนอายุ 10 ปี การดัดและการตัดรองเท้า ไม่ช่วยในการหาย พยายามเลี่ยงการนั่งในท่า W แต่ไม่จำเป็นต้องให้นั่งขัดสมาธิ ในเด็กที่ทำไม่ได้ อาจให้นั่งเหยียดขาแทนเวลานั่งพื้น การตัดรองเท้าอาจพิจารณาในรายที่เป็นมากจนเท้าสะดุดกันเองเวลาวิ่ง การผ่าตัดอาจไม่จำเป็นถ้าไม่มีปัญหาในการดำรงชีวิต และหากจะทำควรทำเมื่อเด็กโตมากแล้ว การบิดหมุนของหน้าแข้ง พบได้น้อยเมื่อเทียบกับบริเวณอื่น ส่วนใหญ่จะหายเองก่อนอายุ 4 ปี การรักษาเบื้องต้นเพียงติดตามอาการเท่านั้น การผ่าตัดอาจไม่จำเป็นถ้าไม่มีปัญหาในการดำรงชีวิต และหากจะทำควรทำเมื่อเด็กโตมากแล้ว การบิดหมุนที่เท้า พบได้ค่อนข้างบ่อย สังเกตได้จากเท้าจะโค้งคล้ายกล้วย ถ้าสามารถดัดได้ง่าย โอกาสหายเองสูง ถ้าดัดได้ยากอาจพิจารณาใส่เฝือกหรือตัดรองเท้าช่วย ส่วนใหญ่หายเองก่อน 4 ขวบ ในกรณีที่ยังเป็นจนโต อาจพิจารณาผ่าตัดในรายที่มีปัญหาการใส่รองเท้า และกังวลเรื่องความสวยงาม