5 โรคฮิตที่คนมารักษาที่คลินิกกระดูก โรงพยาบาลสมิติเวช ชลบุรี

26 กรกฎาคม 2566


5 โรคยอดฮิตของคลินิกกระดูก โรงพยาบาลสมิติเวช ชลบุรี

โรคภัยไข้เจ็บเป็นสิ่งที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในการดำเนินชีวิตประจำวันเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะกระดูก เอ็น และข้อ เป็นอวัยวะส่วนสำคัญของร่างกาย ซึ่งทุกวันนี้มีคนประสบปัญหาและเข้ารับการรักษาเกี่ยวกับโรคกระดูกเป็นจำนวนมาก และส่งผลต่อการใช้ชีวิต โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่กว่าจะรู้ตัวก็สายเกินไป ทำให้เดินไม่ได้เหมือนดังเดิม วันนี้เราจึงมาเปิดโพย 5 โรคฮิตที่คนมารักษากับคลินิกกระดูก โรงพยาบาลสมิติเวช ชลบุรี เพื่อที่ทุกคนจะได้เฝ้าระวัง และป้องกันก่อนที่จะสายเกินไป

1. โรคกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุน เป็นโรคที่ถือว่าเป็นภัยเงียบของคนไทย เพราะกว่าจะรู้ว่าตนเองมีภาวะกระดูกพรุนก็เกือบจะสายไปเสียแล้ว

โรคกระดูกพรุนเป็นภาวะที่ร่างกายของเราสูญเสียมวลกระดูก ทำให้กระดูกเปราะ บาง หรือหักง่ายกว่าคนทั่วไป โดยมากจะพบในผู้สูงอายุและผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือนจะมีภาวะกระดูกพรุนมากกว่าผู้ชาย

ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดภาวะโรคกระดูกพรุน ได้แก่ อายุ สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ใช้ยาสเตียรอยด์เกินขนาด ฮอร์โมนไม่สมดุล รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมหรือได้รับวิตามินดีไม่เพียงพอ

สำหรับผู้ป่วยที่มารักษากับคลินิกกระดูกที่โรงพยาบาลสมิติเวช ชลบุรี ส่วนใหญ่จะพบหลังจากที่ล้ม หรือกระดูกหักแล้ว ดังนั้น ทางที่ดีเมื่ออายุมากขึ้น หรืออยู่ในวัยหมดประจำเดือนสำหรับผู้หญิง ควรจะตรวจวัดความหนาแน่นมวลกระดูก เพื่อทำการรักษาและชะลออาการกระดูกพรุน

2. โรคหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม

หนึ่งในโรคฮิตใหม่ของหนุ่มสาวออฟฟิศที่ต้องนั่งทำงานนาน ๆ ซึ่งคนไข้ที่มาคลินิกกระดูกของสมิติเวช ชลบุรี มักจะเป็นหนุ่มสาววัยทำงาน อายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป โดยจะมีอาการปวดร้าว ๆ บริเวณต้นคอ และรอบ ๆ เอว บางทีปวดร้าวไปถึงขาและแขน

หากว่าใครมีอาการข้างต้น ให้รีบมาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง เพราะการรักษาโรคหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมในช่วงแรก ๆ นั้น จะเป็นเพียงการให้รับประทานยา เปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต รวมถึงการทำกายภาพบำบัด แต่หากว่าปล่อยทิ้งเอาไว้จนอาการลุกลาม อาจจะต้องผ่าตัด รวมถึงอาจจะร้ายแรงถึงขั้นเดินไม่ได้

หมอกระดูกเก่ง ๆ ที่โรงพยาบาลสมิติเวช ชลบุรี

 

3. กระดูกสันหลังคด

โรคกระดูกสันหลังคด จะเป็นโรคที่ค่อนข้างแตกต่างจากโรคกระดูกโดยทั่วไป เพราะอายุของผู้ที่มารักษาที่คลินิกกระดูกของสมิติเวช ชลบุรี จะมีตั้งแต่ในช่วงเด็กถึงวัยรุ่น คือช่วงอายุ 10-15 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่ร่างกายกำลังเจริญเติบโต

โรคกระดูกสันหลังคด คือ การที่แนวของกระดูกสันหลังมีการคดผิดรูป ซึ่งโดยมากจะไม่ทราบสาเหตุ โดยจะสามารถสังเกตได้จากการที่ร่างกายทั้งสองข้างไม่บาลานซ์กัน กล่าวคือ แนวหัวไหล่ไม่เท่า เอวเบี้ยว สะโพกสูงไม่เท่ากัน หรือเราสามารถสังเกตเห็นได้ง่าย ๆ จากเวลาที่ผู้ป่วยก้มแล้วเห็นว่าแนวกระดูกสันหลังไม่ตรง

การรักษาจะพิจารณาตามความรุนแรง หากว่าคดไม่มาก แพทย์อาจจะให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและออกกำลังกาย ไปจนถึงการใส่เสื้อเกราะดัดหลัง และการผ่าตัด

4. ข้อเข่าเสื่อม

โรคข้อเข่าเสื่อม เป็นโรคที่พบได้มากในช่วงวัยกลางคนไปจนถึงผู้สูงอายุ หรือผู้ที่อายุ 40 ปีขึ้นไป ในระยะแรกจะมีอาการปวดบริเวณเข่าเมื่อเดินหรือเคลื่อนไหว แต่พอนั่งพักอาการก็จะบรรเทาลงไป แต่หากว่าไม่ทำการรักษา อาการก็จะรุนแรงขึ้น และมีอาการปวดเข่าในเวลากลางคืน แม้จะไม่ได้ใช้งานก็ตาม

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อม นอกจากเรื่องของอายุแล้ว ยังมีเรื่องของน้ำหนักตัวที่เกินกว่ามาตรฐาน กรรมพันธุ์ และการใช้งานข้อเข่าที่ทำให้เกิดแรงกด อย่างการนั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิบ่อย ๆ ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ข้อเข่าเสื่อมได้เช่นเดียวกัน

สำหรับใครที่เริ่มรู้สึกปวดเข่าเวลาเดิน หรือลงบันได สามารถเดินทางมาตรวจวินิจฉัยที่คลินิกกระดูก โรงพยาบาลสมิติเวช ชลบุรีได้ เพื่อทำการรักษาแต่เนิ่น ๆ

5. กระดูกคอเสื่อม

เมื่ออายุมากขึ้น กระดูกและกล้ามเนื้อก็เหมือนนับเวลาถอยหลัง และยิ่งการใช้ชีวิตที่ก้มหน้ามองโทรศัพท์ หรือพิมพ์งานเป็นเวลานาน ๆ ก็ยิ่งส่งผลให้กระดูกคอเสื่อมเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งอาการของผู้ที่มารักษาที่คลินิกกระดูก โรงพยาบาลสมิติเวช ชลบุรี มีทั้งอาการปวดคอ บางคนปวดร้าวไปถึงแขนอันเนื่องจากไปกดเส้นประสาท ซึ่งหากไม่ทำการรักษาอาจจะส่งผลทำให้ไม่สามารถเดินได้เลยทีเดียว

สำหรับการรักษาจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการเช่นเดียวกับโรคอื่น ๆ โดยจะเริ่มจากการใช้ยา กายภาพบำบัด ฉีดสเตียรอยด์ และหากว่ารุนแรงมากอาจจะต้องทำการผ่าตัด

 

สำหรับคนที่มีปัญหาเรื่องกระดูก หรือต้องการปรึกษาเรื่องการดูแลกระดูก กล้ามเนื้อ และข้อ เรามีหมอกระดูกเก่ง ๆ มากมาย สามารถปรึกษาได้ที่คลินิกกระดูกของโรงพยาบาลสมิติเวช ชลบุรี ได้ทุกวันตั้งแต่เวลา 8:00 - 20:00 น. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร +66 (0)3303-8878

ข้อมูลอ้างอิง

  1. โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis). สืบค้นเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2566 จาก http://training.dms.moph.go.th/rtdc/storage/app/uploads/public/59b/9e7/9d2/59b9e79d2c4ef599738654.pdf 
  2. ปวดแบบไหน หมอนรองกระดูกเสื่อม. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2566 จาก https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/degenerative-disc#:~:text=อาการที่แสดงถึงภาวะ,มีสีดำ%20(Dark%20Disc) 
  3. กระดูกสันหลังคด รู้เร็ว แก้ไขได้. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2566 จาก https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/scoliosis#:~:text=โรคกระดูกสันหลังคด%20(Scoliosis,ที่ผิดปกติของกระดูกสันหลัง   
  4. โรคข้อเข่าเสื่อม.  สืบค้นเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2566 จาก https://www.rama.mahidol.ac.th/ortho/sites/default/files/public/file/pdf/knee_book_0.pdf 
  5. โรคกระดูกคอเสื่อม. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2566 จาก https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article/โรคกระดูกคอเสื่อม/ 

 


แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด

โปรแกรมตรวจสุขภาพ Happy Life Program

ข้อมูลเพิ่มเติม

IV DRIP ดริปวิตามิน สูตรกระจ่างใส

ข้อมูลเพิ่มเติม

ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

ข้อมูลเพิ่มเติม

แพ็กเกจการคลอดแบบพรีเมียม
รพ.สมิติเวชชลบุรี

ข้อมูลเพิ่มเติม

โปรแกรมคลอดบุตร สมิติเวชชลบุรี

ข้อมูลเพิ่มเติม

ลดน้ำหนักด้วยปากกา

ข้อมูลเพิ่มเติม

วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก 4 สายพันธุ์ (3 เข็ม) HPV vaccine-4 valent

ข้อมูลเพิ่มเติม

Sleep Test ตรวจคุณภาพการนอน ค้นหาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ นอนโรงพยาบาล 1 คืน

ข้อมูลเพิ่มเติม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด

เมื่อลูกน้อย...เท้าบิดหมุนเข้าใน

เด็กที่เดินแล้วมีปลายเท้าชี้เข้าหากัน เกิดจากการบิดหมุนของขาตั้งแต่สะโพกลงมา มีลักษณะการเดินผิดปกติและปัญหาเรื่องความสวยงามของขาที่ผิดรูป การตัดรองเท้าอาจพิจารณาในรายที่เป็นมากจนเท้าสะดุดกันเองเวลาวิ่ง เด็กที่มีเท้าบิดหมุนเข้าใน เด็กที่เดินแล้วมีปลายเท้าชี้เข้าหากันเกิดจากการบิดหมุนของขาตั้งแต่สะโพกลงมา แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ต้นขา หน้าแข้ง และเท้า แต่ละส่วนมีแนวทางการตรวจติดตาม และรักษา แตกต่างกันเล็กน้อย การบิดหมุนของส่วนต้นขา พบมากที่สุด ส่วนใหญ่จะหายได้เอง ก่อนอายุ 10 ปี การดัดและการตัดรองเท้า ไม่ช่วยในการหาย พยายามเลี่ยงการนั่งในท่า W แต่ไม่จำเป็นต้องให้นั่งขัดสมาธิ ในเด็กที่ทำไม่ได้ อาจให้นั่งเหยียดขาแทนเวลานั่งพื้น การตัดรองเท้าอาจพิจารณาในรายที่เป็นมากจนเท้าสะดุดกันเองเวลาวิ่ง การผ่าตัดอาจไม่จำเป็นถ้าไม่มีปัญหาในการดำรงชีวิต และหากจะทำควรทำเมื่อเด็กโตมากแล้ว การบิดหมุนของหน้าแข้ง พบได้น้อยเมื่อเทียบกับบริเวณอื่น ส่วนใหญ่จะหายเองก่อนอายุ 4 ปี การรักษาเบื้องต้นเพียงติดตามอาการเท่านั้น การผ่าตัดอาจไม่จำเป็นถ้าไม่มีปัญหาในการดำรงชีวิต และหากจะทำควรทำเมื่อเด็กโตมากแล้ว การบิดหมุนที่เท้า พบได้ค่อนข้างบ่อย สังเกตได้จากเท้าจะโค้งคล้ายกล้วย ถ้าสามารถดัดได้ง่าย โอกาสหายเองสูง ถ้าดัดได้ยากอาจพิจารณาใส่เฝือกหรือตัดรองเท้าช่วย ส่วนใหญ่หายเองก่อน 4 ขวบ ในกรณีที่ยังเป็นจนโต อาจพิจารณาผ่าตัดในรายที่มีปัญหาการใส่รองเท้า และกังวลเรื่องความสวยงาม