อาการแบบไหนเรียกโรคมือ-เท้า-ปาก

14 ธันวาคม 2564


เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มเอนเทอโรไวรัส โดยเฉพาะสายพันธุ์ คอกซากีไวรัส เอ16 ( Coxsackievirus A16) และเอนเทอโรไวรัส 71 (Enterovirus 71) กลุ่มเสี่ยงที่พบบ่อยคือ เด็กทารกและเด็กเล็กอายุต่ำกว่า

สามารถติดโดยตรงจากการสัมผัสกับสารคัดหลั่งจากจมูก ลำคอ น้ำลายและน้ำจากตุ่มใส รวมถึงอุจจาระของผู้ป่วย และสามารถติดต่อโดยอ้อมจากการสัมผัสของเล่น พื้นผิวสัมผัสที่มีการปนเปื้อนของเชื้อ โดยสถานที่ที่มักพบการระบาดของโรค ได้แก่ สถานรับเลี้ยงเด็กและโรงเรียนอนุบาล โรคนี้มักระบาดในช่วงฤดูฝนเข้าสู่ฤดูหนาวอาการและภาวะแทรกซ้อนของโรคอาการเริ่มต้นคือ มีตุ่มใสหรือแผลร้อนในเกิดขึ้นในปาก และมีผื่นแดงหรือตุ่มใสขนาดเล็กที่ฝ่ามือ นิ้วมือ ฝ่าเท้าหรือกัน มีอาการไข้เป็นระยะเวลาวันภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงของโรค เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ สมองอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ สัญญาณเตือนที่คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกมาพบแพทย์ทันที เช่น

  • เด็กมีอาการซึมลง ไม่เล่น
  • ไม่อยากรับประทานอาหาร
  • บ่นปวดศีรษะมาก
  • มีอาการพูดเพ้อ ไม่รู้เรื่อง
  • คอแข็ง มีการรับรู้สับสน และอาเจียน
  • มีอาการไอ หายใจเร็ว หอบ

 การวินิจฉัย

แพทย์จะทำการวินิจฉัยแยกโรคตามอาการ แพทย์อาจทำการส่งตรวจเพิ่มเติมเพื่อยืนยัน แต่ไม่จำเป็นต้องทำทุกราย ขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์

 การรักษา

เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีการรักษาโดยเฉพาะ จึงเป็นการรักษาตามอาการของผู้ป่วย เช่น ถ้าเจ็บคอมากอาจให้หยอดยาชาในปากเพื่อลดอาการเจ็บแผลในปาก ถ้าเพลียมากอาจให้นอนให้น้ำเกลือที่โรงพยาบาล

เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกัน สิ่งสำคัญที่สุดคือ การดูแลรักษาสุขอนามัยที่ดี

ข้อมูลสุขภาพ โดย นพ.โชคชัย เกษมทรัพย์ (กุมารแพทย์)


แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด

แพ็กเกจการคลอดแบบพรีเมียม
รพ.สมิติเวชชลบุรี

ข้อมูลเพิ่มเติม

โปรแกรมคลอดบุตร สมิติเวชชลบุรี

ข้อมูลเพิ่มเติม

ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

ข้อมูลเพิ่มเติม

โปรแกรมตรวจสุขภาพ Happy Life Program

ข้อมูลเพิ่มเติม

ลดน้ำหนักด้วยปากกา

ข้อมูลเพิ่มเติม

IV DRIP ดริปวิตามิน สูตรกระจ่างใส

ข้อมูลเพิ่มเติม

Sleep Test ตรวจคุณภาพการนอน ค้นหาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ นอนโรงพยาบาล 1 คืน

ข้อมูลเพิ่มเติม

วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก 4 สายพันธุ์ (3 เข็ม) HPV vaccine-4 valent

ข้อมูลเพิ่มเติม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด

เมื่อลูกน้อย...เท้าบิดหมุนเข้าใน

เด็กที่เดินแล้วมีปลายเท้าชี้เข้าหากัน เกิดจากการบิดหมุนของขาตั้งแต่สะโพกลงมา มีลักษณะการเดินผิดปกติและปัญหาเรื่องความสวยงามของขาที่ผิดรูป การตัดรองเท้าอาจพิจารณาในรายที่เป็นมากจนเท้าสะดุดกันเองเวลาวิ่ง เด็กที่มีเท้าบิดหมุนเข้าใน เด็กที่เดินแล้วมีปลายเท้าชี้เข้าหากันเกิดจากการบิดหมุนของขาตั้งแต่สะโพกลงมา แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ต้นขา หน้าแข้ง และเท้า แต่ละส่วนมีแนวทางการตรวจติดตาม และรักษา แตกต่างกันเล็กน้อย การบิดหมุนของส่วนต้นขา พบมากที่สุด ส่วนใหญ่จะหายได้เอง ก่อนอายุ 10 ปี การดัดและการตัดรองเท้า ไม่ช่วยในการหาย พยายามเลี่ยงการนั่งในท่า W แต่ไม่จำเป็นต้องให้นั่งขัดสมาธิ ในเด็กที่ทำไม่ได้ อาจให้นั่งเหยียดขาแทนเวลานั่งพื้น การตัดรองเท้าอาจพิจารณาในรายที่เป็นมากจนเท้าสะดุดกันเองเวลาวิ่ง การผ่าตัดอาจไม่จำเป็นถ้าไม่มีปัญหาในการดำรงชีวิต และหากจะทำควรทำเมื่อเด็กโตมากแล้ว การบิดหมุนของหน้าแข้ง พบได้น้อยเมื่อเทียบกับบริเวณอื่น ส่วนใหญ่จะหายเองก่อนอายุ 4 ปี การรักษาเบื้องต้นเพียงติดตามอาการเท่านั้น การผ่าตัดอาจไม่จำเป็นถ้าไม่มีปัญหาในการดำรงชีวิต และหากจะทำควรทำเมื่อเด็กโตมากแล้ว การบิดหมุนที่เท้า พบได้ค่อนข้างบ่อย สังเกตได้จากเท้าจะโค้งคล้ายกล้วย ถ้าสามารถดัดได้ง่าย โอกาสหายเองสูง ถ้าดัดได้ยากอาจพิจารณาใส่เฝือกหรือตัดรองเท้าช่วย ส่วนใหญ่หายเองก่อน 4 ขวบ ในกรณีที่ยังเป็นจนโต อาจพิจารณาผ่าตัดในรายที่มีปัญหาการใส่รองเท้า และกังวลเรื่องความสวยงาม