สมองเสื่อม(Dementia)

07 เมษายน 2565


ภาวะสมองเสื่อม(Dementia)

ภาวะสมองเสื่อม คือ ภาวะที่มีการถดถอยของความสามารถในการทำงานของสมองและส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ป่วย โดยอาการของภาวะสมองเสื่อม อาจพบได้หลายรูปแบบ ดังนี้

  • ความทรงจำบกพร่อง
  • ความผิดปกติในเรื่องการสื่อสารเข้าใจ
  • ความสามารถในการตัดสินใจลดลง
  • ไม่มีสมาธิในการทำงาน

สาเหตุของภาวะสมองเสื่อมแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่

  • สาเหตุที่สามารถป้องกันและรักษาได้ แบ่งแยกตามสาเหตุได้ ดังนี้
    • กลุ่มที่ใช้ยาบางชนิดต่อเนื่องเป็นเวลานาน เช่น ยานอนหลับ ยาทางจิตเวช
    • กลุ่มโรคซึมเศร้า
    •  กลุ่มโรคทางเมตาบิลิกและต่อมไร้ท่อ เช่น โรคเบาหวาน ไทรอยด์
    • กลุ่มโรคความเสื่อมทางตาและหู
    • ภาวะน้ำคั่งในโพรงสมอง
    • กลุ่มโรคเนื้องอกในสมองหรือมีรอยโรคในสมอง
    • โรคติดเชื้อบางชนิด เช่น การติดเชื้อซิฟิลิส การติดเชื้อเอชไอวี
    • กลุ่มที่เกิดจากภาวะการขาดสารอาหารบางอย่าง เช่น ขาดวิตามินบี12 โฟลิก
  • สาเหตุที่ไม่สามารถป้องกันได้ แต่สามารถให้การรักษาและชะลอการดำเนินของโรคได้

โดยส่วนใหญ่จะป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของเซลล์สมอง ซึ่งอาจเกิดได้หลายปัจจัยที่แตกต่างกัน โรคที่รู้จักกันเป็นส่วนใหญ่คือ อัลไซเมอร์ ซึ่งจะพบได้ส่วนใหญ่กับปัญหาด้านความทรงจำ

แนวทางการรักษา

เน้นการรักษาที่สาเหตุ ซึ่งต้องอาศัยการตรวจพบอย่างรวดเร็วก่อนที่จะมีอาการชัดเจนจนส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ซึ่งปัญหาของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมส่วนใหญ่ที่ไม่ค่อยตอบสนองต่อการรักษา เนื่องจาก เริ่มรักษาเมื่อการดำเนินโรคเกิดขึ้นมานานและมีอาการมากแล้ว

การตรวจทั่วไปและตรวจพิเศษ

  • ตรวจสุขภาพประจำปีเป็นประจำทุกปี
  • การตรวจด้วยเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
  • การพันธุกรรม(Genetic testing)ในครอบครัวที่มีประวัติเป็นโรคสมองเสื่อม
  • การประเมินอาการร่วมกับแพทย์ด้วยแบบคัดกรองภาวะสมองเสื่อม

เนื่องจากภาวะสมองเสื่อมยังมีสาเหตุและรายะละเอียดเพิ่มเติมอีกมากมาย หากมีอาการผิดปกติหรือข้อสงสัยของภาวะสมองเสื่อม แนะนำปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางระบบประสาท เพื่อรับคำแนะนำเพิ่มเติมที่จะเป็นประโยชน์ต่อการรักษาที่มีประสิทธิภาพหากต้องเผชิญกับภาวะสมองเสื่อม


แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด

โปรแกรมตรวจสุขภาพ Happy Life Program

ข้อมูลเพิ่มเติม

Sleep Test ตรวจคุณภาพการนอน ค้นหาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ นอนโรงพยาบาล 1 คืน

ข้อมูลเพิ่มเติม

ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

ข้อมูลเพิ่มเติม

วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก 4 สายพันธุ์ (3 เข็ม) HPV vaccine-4 valent

ข้อมูลเพิ่มเติม

โปรแกรมคลอดบุตร สมิติเวชชลบุรี

ข้อมูลเพิ่มเติม

แพ็กเกจการคลอดแบบพรีเมียม
รพ.สมิติเวชชลบุรี

ข้อมูลเพิ่มเติม

IV DRIP ดริปวิตามิน สูตรกระจ่างใส

ข้อมูลเพิ่มเติม

ลดน้ำหนักด้วยปากกา

ข้อมูลเพิ่มเติม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด

เมื่อลูกน้อย...เท้าบิดหมุนเข้าใน

เด็กที่เดินแล้วมีปลายเท้าชี้เข้าหากัน เกิดจากการบิดหมุนของขาตั้งแต่สะโพกลงมา มีลักษณะการเดินผิดปกติและปัญหาเรื่องความสวยงามของขาที่ผิดรูป การตัดรองเท้าอาจพิจารณาในรายที่เป็นมากจนเท้าสะดุดกันเองเวลาวิ่ง เด็กที่มีเท้าบิดหมุนเข้าใน เด็กที่เดินแล้วมีปลายเท้าชี้เข้าหากันเกิดจากการบิดหมุนของขาตั้งแต่สะโพกลงมา แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ต้นขา หน้าแข้ง และเท้า แต่ละส่วนมีแนวทางการตรวจติดตาม และรักษา แตกต่างกันเล็กน้อย การบิดหมุนของส่วนต้นขา พบมากที่สุด ส่วนใหญ่จะหายได้เอง ก่อนอายุ 10 ปี การดัดและการตัดรองเท้า ไม่ช่วยในการหาย พยายามเลี่ยงการนั่งในท่า W แต่ไม่จำเป็นต้องให้นั่งขัดสมาธิ ในเด็กที่ทำไม่ได้ อาจให้นั่งเหยียดขาแทนเวลานั่งพื้น การตัดรองเท้าอาจพิจารณาในรายที่เป็นมากจนเท้าสะดุดกันเองเวลาวิ่ง การผ่าตัดอาจไม่จำเป็นถ้าไม่มีปัญหาในการดำรงชีวิต และหากจะทำควรทำเมื่อเด็กโตมากแล้ว การบิดหมุนของหน้าแข้ง พบได้น้อยเมื่อเทียบกับบริเวณอื่น ส่วนใหญ่จะหายเองก่อนอายุ 4 ปี การรักษาเบื้องต้นเพียงติดตามอาการเท่านั้น การผ่าตัดอาจไม่จำเป็นถ้าไม่มีปัญหาในการดำรงชีวิต และหากจะทำควรทำเมื่อเด็กโตมากแล้ว การบิดหมุนที่เท้า พบได้ค่อนข้างบ่อย สังเกตได้จากเท้าจะโค้งคล้ายกล้วย ถ้าสามารถดัดได้ง่าย โอกาสหายเองสูง ถ้าดัดได้ยากอาจพิจารณาใส่เฝือกหรือตัดรองเท้าช่วย ส่วนใหญ่หายเองก่อน 4 ขวบ ในกรณีที่ยังเป็นจนโต อาจพิจารณาผ่าตัดในรายที่มีปัญหาการใส่รองเท้า และกังวลเรื่องความสวยงาม