การคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่

15 มิถุนายน 2565


การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ 

                ปัจจุบันมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆของประเทศไทย และมีอุบัติการณ์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่เพื่อวินิจฉัยมะเร็งลำไส้ใหญ่ในระยะต้นจึงเป็นสิ่งสำคัญ

การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่แนะนำสำหรับ

  • บุคคลที่มีการขับถ่ายผิดปกติ เช่น ท้องผูกเรื้อรัง ท้องเสียเรื้อรัง ท้องผูกสลับกับท้องเสีย หรือถ่ายมีมูกเลือดปน
  • บุคคลที่มีน้ำหนักลดหรือภาวะซีดโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • บุคคลทั่วไปที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่
  • บุคคลทั่วไปที่มีอายุเกิน 50 ปี ทุกคน

การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่มีหลายวิธีได้แก่

  • การตรวจอุจจาระดูว่ามีเลือดปนมาในอุจจาระ (Fecal occult blood) หรือไม่
  • การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เพื่อดูติ่งเนื้อหรือก้อนเนื้อในลำไส้ใหญ่(CT colonoscopy)
  • การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (Colonoscope) การตรวจคัดกรองวิธีนี้เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการตรวจคัดกรองลำไส้ใหญ่นอกจากจะสามารถวินิจฉัยมะเร็งลำไส้ใหญ่ในระยะต้นแล้ว  ยังสามารถหาติ่งเนื้อ(polyps)ในลำไส้ใหญ่ ซึ่งถ้าพบติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่และทำการการตัดติ่งเนื้อลำไส้ใหญ่ จะช่วยป้องกันการเกิดเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ในอนาคตได้อีกด้วย 

                   ศูนย์ระบบทางเดินอาหารและตับโรงพยาบาลสมิติเวช ชลบุรี ประกอบด้วยแพทย์เฉพาะทางทางเดินอาหารและตับที่มีประสบการณ์และความชำนาญในการส่องกล้องและมีอุปกรณ์การส่องกล้องที่ทันสมัยรุ่นใหม่ล่าสุดนอกจากนี้ยังมีระบบประมวลผลวิเคราะห์เชิงลึก(AI) ซึ่งสามารถช่วยการมองเห็นติ่งเนื้อและวินิจฉัยติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่ได้อย่างแม่นยำ การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ที่โรงพยาบาลสมิติเวช ชลบุรี สามารถทำได้อย่างรวดเร็วและสะดวกสบายด้วยการเตรียมลำไส้ที่ห้องเตรียมลำไส้ส่วนตัวที่โรงพยาบาล 

โดย นพ.ปารินทร์ ศิริวัฒน์


แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด

IV DRIP ดริปวิตามิน สูตรกระจ่างใส

ข้อมูลเพิ่มเติม

โปรแกรมคลอดบุตร สมิติเวชชลบุรี

ข้อมูลเพิ่มเติม

ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

ข้อมูลเพิ่มเติม

โปรแกรมตรวจสุขภาพ Happy Life Program

ข้อมูลเพิ่มเติม

วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก 4 สายพันธุ์ (3 เข็ม) HPV vaccine-4 valent

ข้อมูลเพิ่มเติม

แพ็กเกจการคลอดแบบพรีเมียม
รพ.สมิติเวชชลบุรี

ข้อมูลเพิ่มเติม

ลดน้ำหนักด้วยปากกา

ข้อมูลเพิ่มเติม

Sleep Test ตรวจคุณภาพการนอน ค้นหาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ นอนโรงพยาบาล 1 คืน

ข้อมูลเพิ่มเติม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด