เจาะเลือดฝากครรภ์ ตรวจอะไรบ้าง ??

05 เมษายน 2565


เจาะเลือดฝากครรภ์ ตรวจอะไรบ้าง ??

 

เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์จะต้องไปฝากครรภ์ นอกจากการอัลตร้าซาวน์แล้วคุณแม่จะต้องเจาะเลือดตรวจ รายการที่เจาะเลือดประกอบไปด้วย

             ⇒ ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (complete blood count) จะบอกถึงระดับความเข้มข้นเลือดในร่างกาย ขนาดและรูปร่างของเม็ดเลือดแดง บอกปริมาณเม็ดเลือดขาว และบอกปริมาณเกร็ดเลือดในร่างกาย

               ⇒ หมู่เลือด ABO และดู Rh group ว่าเป็นแบบปกติ หรือเป็น negative

               ⇒ ธาลัสซีเมีย แต่ละรพ.จะตรวจแตกต่างกัน บางโรงพยาบาลจะตรวจแบบคัดกรอง (OF, MCV หรือ DCIP) หรือ HbTyping และบางโรงพยาบาลจะมีตรวจคัดกรองภาวะ อัลฟาธาลัสซีเมียเพิ่มเติม

              ⇒ โรคติดเชื้อ ซึ่งได้แก่ การตรวจหาไวรัส HIV, ตับอักเสบบี และ ซิฟิลิส

 

การตรวจเลือดอื่นๆ

            ⇒ การตรวจภูมิตับอักเสบบี, ภูมิหัดเยอรมัน

            ⇒ การตรวจคัดกรองเบาหวาน โดยจะตรวจคัดกรองตั้งแต่เจาะเลือดครั้งแรกในคุณแม่ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง เช่น มีประวัติครอบครัวสายตรงเป็นเบาหวาน, มี BMI >= 23 kg/m2, มีประวัติเคยตรวจพบผลน้ำตาลในเลือดสูงเกินเกณฑ์ เป็นต้น จะได้รับการตรวจ 50OGT คือรับประทานน้ำตาลกลูโคส 1 แก้ว แล้วเจาะเลือดหลังจากรับประทานน้ำตาล 1 ชั่วโมง

(ค่าปกติ < 140 mg%) ถ้าคุณแม่ไม่ใช่กลุ่มเสี่ยงจะได้รับการตรวจคัดกรองตอนอายุครรภ์ประมาณ 24-28 สัปดาห์

          ⇒ การตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม มีหลายวิธี เช่น การตรวจสารเคมีในเลือด หรือการตรวจ fetal cell DNA โดยจะตรวจได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 10 สัปดาห์ขึ้นไป

นอกจากนี้แนะนำให้คุณพ่อมาตรวจเลือดพร้อมกับคุณแม่ด้วย เพื่อเป็นการตรวจหาธาลัสซีเมีย และโรคติดเชื้อ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ศูนย์สุขภาพสตรี โทร 033-038924 

นัดหมาย/ปรึกษาทางไลน์  Click


พญ.อุมาวรรณ วิระพรสวรรค์

ความชำนาญ : สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา

ข้อมูลเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด

โปรแกรมคลอดบุตร สมิติเวชชลบุรี

ข้อมูลเพิ่มเติม

ลดน้ำหนักด้วยปากกา

ข้อมูลเพิ่มเติม

โปรแกรมตรวจสุขภาพ Happy Life Program

ข้อมูลเพิ่มเติม

แพ็กเกจการคลอดแบบพรีเมียม
รพ.สมิติเวชชลบุรี

ข้อมูลเพิ่มเติม

Sleep Test ตรวจคุณภาพการนอน ค้นหาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ นอนโรงพยาบาล 1 คืน

ข้อมูลเพิ่มเติม

ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

ข้อมูลเพิ่มเติม

IV DRIP ดริปวิตามิน สูตรกระจ่างใส

ข้อมูลเพิ่มเติม

วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก 4 สายพันธุ์ (3 เข็ม) HPV vaccine-4 valent

ข้อมูลเพิ่มเติม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด

เมื่อลูกน้อย...เท้าบิดหมุนเข้าใน

เด็กที่เดินแล้วมีปลายเท้าชี้เข้าหากัน เกิดจากการบิดหมุนของขาตั้งแต่สะโพกลงมา มีลักษณะการเดินผิดปกติและปัญหาเรื่องความสวยงามของขาที่ผิดรูป การตัดรองเท้าอาจพิจารณาในรายที่เป็นมากจนเท้าสะดุดกันเองเวลาวิ่ง เด็กที่มีเท้าบิดหมุนเข้าใน เด็กที่เดินแล้วมีปลายเท้าชี้เข้าหากันเกิดจากการบิดหมุนของขาตั้งแต่สะโพกลงมา แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ต้นขา หน้าแข้ง และเท้า แต่ละส่วนมีแนวทางการตรวจติดตาม และรักษา แตกต่างกันเล็กน้อย การบิดหมุนของส่วนต้นขา พบมากที่สุด ส่วนใหญ่จะหายได้เอง ก่อนอายุ 10 ปี การดัดและการตัดรองเท้า ไม่ช่วยในการหาย พยายามเลี่ยงการนั่งในท่า W แต่ไม่จำเป็นต้องให้นั่งขัดสมาธิ ในเด็กที่ทำไม่ได้ อาจให้นั่งเหยียดขาแทนเวลานั่งพื้น การตัดรองเท้าอาจพิจารณาในรายที่เป็นมากจนเท้าสะดุดกันเองเวลาวิ่ง การผ่าตัดอาจไม่จำเป็นถ้าไม่มีปัญหาในการดำรงชีวิต และหากจะทำควรทำเมื่อเด็กโตมากแล้ว การบิดหมุนของหน้าแข้ง พบได้น้อยเมื่อเทียบกับบริเวณอื่น ส่วนใหญ่จะหายเองก่อนอายุ 4 ปี การรักษาเบื้องต้นเพียงติดตามอาการเท่านั้น การผ่าตัดอาจไม่จำเป็นถ้าไม่มีปัญหาในการดำรงชีวิต และหากจะทำควรทำเมื่อเด็กโตมากแล้ว การบิดหมุนที่เท้า พบได้ค่อนข้างบ่อย สังเกตได้จากเท้าจะโค้งคล้ายกล้วย ถ้าสามารถดัดได้ง่าย โอกาสหายเองสูง ถ้าดัดได้ยากอาจพิจารณาใส่เฝือกหรือตัดรองเท้าช่วย ส่วนใหญ่หายเองก่อน 4 ขวบ ในกรณีที่ยังเป็นจนโต อาจพิจารณาผ่าตัดในรายที่มีปัญหาการใส่รองเท้า และกังวลเรื่องความสวยงาม