8 อาการสำคัญ ที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรมาโรงพยาบาล

07 เมษายน 2565


  1. อาการแพ้ท้องรุนแรง 
    • การแพ้ท้องเป็นเรื่องธรรมชาติ โดยอาการแพ้ท้อง อาจแสดงออกมาในหลายรูปแบบ เช่น เวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน  อยากทานอาหารบางชนิดเช่น ของเปรี้ยว  อยากทานสิ่งที่ไม่ใช่อาหาร เหม็นง่าย เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามการแพ้ท้องที่ทำให้รับประทานอาหารไม่ได้ น้ำหนักลดลงมาก เป็นสิ่งที่มีผลต่อสุขภาพของคุณแม่ตั้งครรภ์ อีกทั้งยังเป็นอาจเป็นอาการแสดงถึงการตั้งครรภ์ที่ไม่ปกติ เช่น ครรภ์ไข่ปลาอุก ครรภ์แฝด ได้ จึงความพบแพทย์เพื่อวินิจฉัย และรับยาบรรเทาอาการ (ในบางรายอาจ พิจารณาให้สารน้ำทางหลอดเลือด )
  2. เลือดออกจากช่องคลอด
    • ในไตรมาสแรกเลือดออกจากช่องคลอด มีสาเหตุจากหลายอย่าง แต่ที่สำคัญคือเรื่องของภาวะแท้งบุตร และท้องนอกมดลูก หากมีอาการควรพบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุ และยืนยันสภาวะของทารกในครรภ์
    • ในช่วงไตรมาสที่ 2 และ3  ภาวะเลือดออกทางช่องคลอด อาจเกิดจาก รกเกาะต่ำ รกลอกตัวก่อนกำหนด เป็นต้น ซึ่งเป็นภาวะที่อันตรายเป็นอย่างมาก ทั้งตัวคุณแม่และทารกในครรภ์ อีกทั้งยังอาจเป็นหนึ่งในอาการเตือนของการคลอดบุตร อีกด้วย
  3. อาการปวดท้องน้อย
    • การปวดท้องน้อยในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ สามารถพบได้เนื่องจากการขยายตัวของมดลูก แต่อย่างไรก็ตามมักไม่ปวดมาก พักหรือเปลี่ยนอิริยาบถ ควรจะทุเลาอาการ หากมีอาการปวดมาก ควรพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ
  4. มีไข้สูง
    • คุณแม่ที่มีไข้สูง ควรพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุของไข้ ว่ามีการติดเชื้อใด ที่ระบบใด และรับการรักษาอย่างถูกต้อง ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง เนื่องจากมียาหลายชนิดที่ไม่สามารถใช้ได้ขณะตั้งครรภ์  การติดเชื้อบางชนิดอาการก่อให้เกิดความผิดปกติของทารกในครรภ์ และการติดเชื้อในบางระบบเช่น ทางเดินปัสสาวะอาจเป็นสาเหตุของการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดได้ เป็นต้น
  5. ลูกดิ้นน้อยลง หรือไม่ดิ้น
    • การนับลูกดิ้นหลังอายุครรภ์ประมาณ 5 เดือน มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นสิ่งที่คุณแม่สามารถสังเกตความผิดปกติได้ด้วยตัวเองขณะอยู่บ้าน  โดยการนับลูกดิ้นมีหลายแบบแล้วแต่ความสะดวกของแต่ละคน โดยคุณแม่มักได้รับคำแนะการนับลูกดิ้นจากแพทย์ที่ได้ทำการฝากครรภ์ หากพบว่าทารกมีการดิ้นลดลง หรือ ไม่ดิ้น ควรรีบพบแพทย์เนื่องจาก อาจเกิดการเสียชีวิตในครรภ์ได้
  6. อาการเจ็บครรภ์คลอด
    • การเจ็บครรภ์คลอด (true labor pain) มักจะมีอาการท้องแข็ง มดลูกหดรัดตัว ปวดร้าวไปที่หลังหรือหน่วงลงช่องคลอดทวารหนัก  มีอาการเจ็บสม่ำเสมอ มีความถี่และความแรงของการหดรัดตัวของมดลูกมากขึ้นเรื่อยๆ เปลี่ยนอิริยาบถหรือพักไม่ดีขึ้น  หากมีอาการดังกล่าวก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ จะมีความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดได้
  7. น้ำเดิน หรือถุงน้ำคร่ำแตก
    • จะมีน้ำใสๆไหลออกจากช่องคลอด คล้ายปัสสาวะราดแต่กลั้นไม่ได้ โดยมักจะออกมาเรื่อยๆ โดยปริมาณอาจไม่แน่นอน อาการของน้ำเดินเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการคลอดบุตร  จึงควรมารพ.ทันทีเพื่อเตรียมตัวคลอด
  8. ตัวบวม น้ำหนักขึ้นอย่างรวดเร็ว จุกแน่นลิ้นปี ตาพร่ามัว ปวดศีรษะมาก
    • อาการดังกล่าวเป็นอาการของภาวะครรภ์เป็นพิษ (Pre-ecclampsia) ซึ่งเป็นภาวะที่อันตรายมากต่อทั้งแม่และเด็ก  โดยหากมีอาการดังกล่าวหรือสงสัยให้มาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยทันที

 

 

อาการผิดปกติอื่น ที่เมื่อมาพบแพทย์เพื่อฝากครรภ์และควรแจ้งแพทย์หากมีอาการ

  • ปัสสาวะแสบขัด ไม่สุด ปวดท้องน้อยเวลาปัสสาวะ
  • ตกขาวมีกลิ่น หรือสีที่ผิดปกติ
  • มีอาการคันช่องคลอด
  • นอนไม่หลับ
  • ท้องผูก หรือถ่ายปนเลือด
  • ปวดหลังมาก
  • เป็นตะคริว
  • มีอาการชาปลายมือปลายเท้า
  • จุกแสบลิ้นปี่ หรือมีอาการแสบร้อนที่อกหรือลำคอหลังรับประทานอาการหรือเวลานอน

ข้อมูลอัพเดท วันที่ 8 พ.ย.2563

 


พญ.กมลชนก อนุศาสนนันท์

ความชำนาญ : สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา

ข้อมูลเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด

แพ็กเกจการคลอดแบบพรีเมียม
รพ.สมิติเวชชลบุรี

ข้อมูลเพิ่มเติม

โปรแกรมคลอดบุตร สมิติเวชชลบุรี

ข้อมูลเพิ่มเติม

Sleep Test ตรวจคุณภาพการนอน ค้นหาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ นอนโรงพยาบาล 1 คืน

ข้อมูลเพิ่มเติม

IV DRIP ดริปวิตามิน สูตรกระจ่างใส

ข้อมูลเพิ่มเติม

ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

ข้อมูลเพิ่มเติม

ลดน้ำหนักด้วยปากกา

ข้อมูลเพิ่มเติม

โปรแกรมตรวจสุขภาพ Happy Life Program

ข้อมูลเพิ่มเติม

วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก 4 สายพันธุ์ (3 เข็ม) HPV vaccine-4 valent

ข้อมูลเพิ่มเติม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด

เมื่อลูกน้อย...เท้าบิดหมุนเข้าใน

เด็กที่เดินแล้วมีปลายเท้าชี้เข้าหากัน เกิดจากการบิดหมุนของขาตั้งแต่สะโพกลงมา มีลักษณะการเดินผิดปกติและปัญหาเรื่องความสวยงามของขาที่ผิดรูป การตัดรองเท้าอาจพิจารณาในรายที่เป็นมากจนเท้าสะดุดกันเองเวลาวิ่ง เด็กที่มีเท้าบิดหมุนเข้าใน เด็กที่เดินแล้วมีปลายเท้าชี้เข้าหากันเกิดจากการบิดหมุนของขาตั้งแต่สะโพกลงมา แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ต้นขา หน้าแข้ง และเท้า แต่ละส่วนมีแนวทางการตรวจติดตาม และรักษา แตกต่างกันเล็กน้อย การบิดหมุนของส่วนต้นขา พบมากที่สุด ส่วนใหญ่จะหายได้เอง ก่อนอายุ 10 ปี การดัดและการตัดรองเท้า ไม่ช่วยในการหาย พยายามเลี่ยงการนั่งในท่า W แต่ไม่จำเป็นต้องให้นั่งขัดสมาธิ ในเด็กที่ทำไม่ได้ อาจให้นั่งเหยียดขาแทนเวลานั่งพื้น การตัดรองเท้าอาจพิจารณาในรายที่เป็นมากจนเท้าสะดุดกันเองเวลาวิ่ง การผ่าตัดอาจไม่จำเป็นถ้าไม่มีปัญหาในการดำรงชีวิต และหากจะทำควรทำเมื่อเด็กโตมากแล้ว การบิดหมุนของหน้าแข้ง พบได้น้อยเมื่อเทียบกับบริเวณอื่น ส่วนใหญ่จะหายเองก่อนอายุ 4 ปี การรักษาเบื้องต้นเพียงติดตามอาการเท่านั้น การผ่าตัดอาจไม่จำเป็นถ้าไม่มีปัญหาในการดำรงชีวิต และหากจะทำควรทำเมื่อเด็กโตมากแล้ว การบิดหมุนที่เท้า พบได้ค่อนข้างบ่อย สังเกตได้จากเท้าจะโค้งคล้ายกล้วย ถ้าสามารถดัดได้ง่าย โอกาสหายเองสูง ถ้าดัดได้ยากอาจพิจารณาใส่เฝือกหรือตัดรองเท้าช่วย ส่วนใหญ่หายเองก่อน 4 ขวบ ในกรณีที่ยังเป็นจนโต อาจพิจารณาผ่าตัดในรายที่มีปัญหาการใส่รองเท้า และกังวลเรื่องความสวยงาม