การส่องกล้องระบบทางเดินอาหารมีกี่แบบ

27 เมษายน 2565


การส่องกล้องระบบทางเดินอาหารมีกี่แบบ จำเป็นหรือไม่ จำเป็นสำหรับใคร

การส่องกล้องระบบทางเดินอาหารมีหลายแบบ แต่การส่องกล้องที่เราพูดถึงกันบ่อยๆมักมีอยู่ 2 แบบ คือ 1.EGD หรือการส่องกล้องกระเพาะอาหาร 2.Colonoscope หรือการส่องกล้องลำไส้ใหญ่                        บางคนไม่เข้าใจนึกว่าส่องกล้องก็คือส่องทีเดียวจากบนลงล่างซึ่งความจริงแล้วไม่ใช่ การส่องกระเพาะอาหาร คือการส่องกล้องขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางเพียง 1 เซนติเมตรเข้าไปทางปากผ่านกระเพาะอาหารถึงลำไส้เล็กส่วนต้น ส่วนการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ คือการส่องจากทวารหนักหรือว่าก้นเข้าไปถึงบริเวณลำไส้เล็กส่วนปลาย

        วิธีการเตรียมตัวของการส่องกล้องกระเพาะอาหารและการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ก็แตกต่างกัน

                      การส่องกล้องกระเพาะอาหารทำได้ง่าย เพียงแค่งดน้ำงดอาหาร 6-8 ชม ก่อนมาส่องกล้องก็สามารถทำได้ ในขณะที่การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ ต้องมีการเตรียมลำไส้ คือการกินยาถ่ายและถ่ายจนอุจจาระมีลักษณะใสหรือที่เราเรียกกันว่า การล้างลำไส้ นั่นเอง

การส่องกล้องจำเป็นหรือไม่                       ต้องบอกว่าการตรวจร่างกายของแพทย์จากภายนอกโดยการคลำหน้าท้อง ไม่สามารถบอกรายละเอียดต่างๆของการพยาธิสภาพในกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่ได้ การส่องกล้องกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่จึงจำเป็นและเป็นตัวช่วยในการวินิจฉัยโรคหรือพยาธิสภาพในกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่ การส่องกล้องจำเป็นสำหรับใคร การส่องกล้องกระเพาะอาหารจำเป็นสำหรับคนที่มีอาการ 1.ปวดแสบท้องครั้งแรกตอนอายุมากกว่า 50 ปี 2.มีสัญญาณของโรคมะเร็งกระเพาะอาหารเช่น อาการน้ำหนักลด มีถ่ายปนเลือดหรือถ่ายดำ 3.ปวดแสบท้องที่รักษาไม่ดีขึ้นด้วยการใช้ยา 4.ปวดแสบท้องและมีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร การส่องกล้องลำไส้ใหญ่จำเป็นสำหรับคนที่มีอาการ 1.ท้องผูกสลับท้องเสีย 2.ถ่ายมีเลือดปนหรือถ่ายมีมูกเลือด 3.ถ่ายเป็นเม็ดเล็กๆเม็ดกระต่ายหรือว่าถ่ายยาก 4.ปวดเบ่งเวลาถ่าย 5.อ่อนเพลีย หรือซีดโดยไม่รู้สาเหตุ โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่อายุมาก 6. อาจคลำก้อนได้ในท้อง ดังนั้นหากเรามีอาการผิดปกติข้างต้นควรเข้าพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อปรึกษาถึงเรื่องการส่องกล้องต่อไป นพ.ปารินทร์ ศิริวัฒน์ ศูนย์ระบบทางเดินอาหารและตับ รพ.สมิติเวชชลบุรี

  ► ปรึกษาแพทย์ออนไลน์ หรือ โทร 096-9173851


แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด

Sleep Test ตรวจคุณภาพการนอน ค้นหาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ นอนโรงพยาบาล 1 คืน

ข้อมูลเพิ่มเติม

วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก 4 สายพันธุ์ (3 เข็ม) HPV vaccine-4 valent

ข้อมูลเพิ่มเติม

IV DRIP ดริปวิตามิน สูตรกระจ่างใส

ข้อมูลเพิ่มเติม

ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

ข้อมูลเพิ่มเติม

แพ็กเกจการคลอดแบบพรีเมียม
รพ.สมิติเวชชลบุรี

ข้อมูลเพิ่มเติม

โปรแกรมคลอดบุตร สมิติเวชชลบุรี

ข้อมูลเพิ่มเติม

โปรแกรมตรวจสุขภาพ Happy Life Program

ข้อมูลเพิ่มเติม

ลดน้ำหนักด้วยปากกา

ข้อมูลเพิ่มเติม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด

เมื่อลูกน้อย...เท้าบิดหมุนเข้าใน

เด็กที่เดินแล้วมีปลายเท้าชี้เข้าหากัน เกิดจากการบิดหมุนของขาตั้งแต่สะโพกลงมา มีลักษณะการเดินผิดปกติและปัญหาเรื่องความสวยงามของขาที่ผิดรูป การตัดรองเท้าอาจพิจารณาในรายที่เป็นมากจนเท้าสะดุดกันเองเวลาวิ่ง เด็กที่มีเท้าบิดหมุนเข้าใน เด็กที่เดินแล้วมีปลายเท้าชี้เข้าหากันเกิดจากการบิดหมุนของขาตั้งแต่สะโพกลงมา แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ต้นขา หน้าแข้ง และเท้า แต่ละส่วนมีแนวทางการตรวจติดตาม และรักษา แตกต่างกันเล็กน้อย การบิดหมุนของส่วนต้นขา พบมากที่สุด ส่วนใหญ่จะหายได้เอง ก่อนอายุ 10 ปี การดัดและการตัดรองเท้า ไม่ช่วยในการหาย พยายามเลี่ยงการนั่งในท่า W แต่ไม่จำเป็นต้องให้นั่งขัดสมาธิ ในเด็กที่ทำไม่ได้ อาจให้นั่งเหยียดขาแทนเวลานั่งพื้น การตัดรองเท้าอาจพิจารณาในรายที่เป็นมากจนเท้าสะดุดกันเองเวลาวิ่ง การผ่าตัดอาจไม่จำเป็นถ้าไม่มีปัญหาในการดำรงชีวิต และหากจะทำควรทำเมื่อเด็กโตมากแล้ว การบิดหมุนของหน้าแข้ง พบได้น้อยเมื่อเทียบกับบริเวณอื่น ส่วนใหญ่จะหายเองก่อนอายุ 4 ปี การรักษาเบื้องต้นเพียงติดตามอาการเท่านั้น การผ่าตัดอาจไม่จำเป็นถ้าไม่มีปัญหาในการดำรงชีวิต และหากจะทำควรทำเมื่อเด็กโตมากแล้ว การบิดหมุนที่เท้า พบได้ค่อนข้างบ่อย สังเกตได้จากเท้าจะโค้งคล้ายกล้วย ถ้าสามารถดัดได้ง่าย โอกาสหายเองสูง ถ้าดัดได้ยากอาจพิจารณาใส่เฝือกหรือตัดรองเท้าช่วย ส่วนใหญ่หายเองก่อน 4 ขวบ ในกรณีที่ยังเป็นจนโต อาจพิจารณาผ่าตัดในรายที่มีปัญหาการใส่รองเท้า และกังวลเรื่องความสวยงาม