ฉีดวัคซีน HPV ในเด็ก ลดความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก

02 กันยายน 2565


           ประเทศไทย พบผู้หญิงป่วยเป็นมะเร็งปากมดลูกเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งเต้านม  การป้องกันด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส HPV ซื่งเป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูก จึงเป็นการป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะควรฉีดตั้งแต่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์และช่วงที่ร่างกายอยู่ในวัยที่สร้างภูมิคุ้มกันได้ดี ตั้งแต่อายุ 9 ปี ถึง 26 ปี  นอกจากป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกในเด็กผู้หญิงแล้ว        วัคซีนนี้ยังสามารถป้องกันโรคหูดหงอนไก่ และมะเร็งทวารหนักในเด็กผู้ชายได้ด้วย

 HPV คืออะไร

        Human Papilloma virus เป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่สามารถก่อให้เกิดโรคได้ในหลายอวัยวะ มีมากว่า 100 สายพันธุ์ โดยจัดแบ่งออกเป็น สายพันธุ์ความเสี่ยงสูงที่ก่อให้เกิดมะเร็ง ได้แก่ สายพันธุ์ 16, 18 , 31, 33, 45 , 52,58 และสายพันธุ์ความเสี่ยงต่ำที่ก่อให้เกิดโรคหูดหงอนไก่ ได้แก่สายพันธุ์ 6 และ 11  เป็นต้น  ไวรัสนี้สามารถก่อโรคได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งในอวัยวะต่างๆ เช่น มะเร็งปากมดลูก  มะเร็งช่องคลอด  มะเร็งปากช่องคลอด มะเร็งอวัยวะเพศชาย มะเร็งทวารหนัก  มะเร็งช่องปากและลำคอ

การติดต่อ

         เชื้อ HPV ติดได้ง่ายผ่านการสัมผัส เช่น เพศสัมพันธ์ การสัมผัสที่รุนแรงบริเวณอวัยวะเพศ  โดยผู้หญิงและผู้ชาย 4 ใน 5 คน จะเคยได้รับเชื้อ HPV ในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต ส่วนมากร่างกายจะกำจัดเชื้อออกไปได้ภายใน 2 ปี แต่ถ้าร่างกายไม่สามารถกำจัดเชื้อออกไปได้ จะทำให้เกิดการพัฒนาไปเป็นมะเร็งได้ในอนาคต

วัคซีนเอชพีวี (HPV) คืออะไร

                 วัคซีน HPV  หรือวัคซีนป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก คือวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัส HPV (Human Papilloma virus) ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูก  เนื่องจากการติดเชื้อไวรัส HPV ทำให้เซลล์ปากมดลูกอักเสบเรื้อรังและเปลี่ยนเป็นเซลล์มะเร็งได้  

การป้องกันเชื้อ HPV

         ปัจจุบันในประเทศไทย มีวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV 3 ชนิด 

  • วัคซีนชนิด 2 สายพันธุ์  ( 16 , 18 )
  • วัคซีนชนิด 4 สายพันธุ์  ( 6, 11, 16, 18 )
  • วัคซีนชนิด 9 สายพันธุ์   ( 6, 11, 16, 18, 31 , 33,45,52,58 )

การฉีดวัคซีน HPV

  •  ประสิทธิภาพวัคซีนจะสูงขึ้น  หากได้รับวัคซีนในวัยที่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน
  • เด็กวัยรุ่นหญิงและชาย อายุ 9-15 ปี ฉีด 2 เข็ม โดยเข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรก 6-12เดือน
  • ผู้หญิงและผู้ชายอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ฉีด 3 เข็ม เข็ม2 ห่างจากเข็มแรก 1-2 เดือน และเข็มที่ 3 ห่างจากเข็ม 2 อย่างน้อย 3เดือน และห่างจากเข็มแรก อย่างน้อย 5 เดือน  ควรได้รับวัคซีนครบ 3 เข็ม ภายในระยะเวลา 1 ปี

คำถามพบบ่อย

Q : ถ้ามีแฟนคนเดียว มีโอกาสติดเชื้อ HPV หรือไม่

A : มีความเสี่ยง เนื่องจากเชื้อ HPV สามารถติดต่อได้ง่าย 80%ของคนทั่วไปเคยได้รับเชื้อมาก่อน โดยไม่มีอาการใดๆ  จึงอาจเป็นไปได้ว่าแฟนของคุณจะเคยได้รับเชื้อ HPV มาก่อนแล้ว

Q : เคยได้รับเชื้อ HPV มาแล้ว วัคซีนยังคงมีประโยจน์หรือไม่

A : มีประโยชน์ โดยวัคซีนจะป้องกันการติดเชื้อ HPV ในสายพันธุ์ที่ยังไม่เคยติดมาก่อน

 

   ราคา แพ็กเกจวัคซีน HPV

mail สอบถามเพิ่มเติม / นัดหมาย 

         ศูนย์สุขภาพเด็ก โทร 033-038968

 อ่านบทความอื่นๆ Click

      


แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด

IV DRIP ดริปวิตามิน สูตรกระจ่างใส

ข้อมูลเพิ่มเติม

โปรแกรมคลอดบุตร สมิติเวชชลบุรี

ข้อมูลเพิ่มเติม

ลดน้ำหนักด้วยปากกา

ข้อมูลเพิ่มเติม

ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

ข้อมูลเพิ่มเติม

แพ็กเกจการคลอดแบบพรีเมียม
รพ.สมิติเวชชลบุรี

ข้อมูลเพิ่มเติม

โปรแกรมตรวจสุขภาพ Happy Life Program

ข้อมูลเพิ่มเติม

Sleep Test ตรวจคุณภาพการนอน ค้นหาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ นอนโรงพยาบาล 1 คืน

ข้อมูลเพิ่มเติม

วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก 4 สายพันธุ์ (3 เข็ม) HPV vaccine-4 valent

ข้อมูลเพิ่มเติม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด

เมื่อลูกน้อย...เท้าบิดหมุนเข้าใน

เด็กที่เดินแล้วมีปลายเท้าชี้เข้าหากัน เกิดจากการบิดหมุนของขาตั้งแต่สะโพกลงมา มีลักษณะการเดินผิดปกติและปัญหาเรื่องความสวยงามของขาที่ผิดรูป การตัดรองเท้าอาจพิจารณาในรายที่เป็นมากจนเท้าสะดุดกันเองเวลาวิ่ง เด็กที่มีเท้าบิดหมุนเข้าใน เด็กที่เดินแล้วมีปลายเท้าชี้เข้าหากันเกิดจากการบิดหมุนของขาตั้งแต่สะโพกลงมา แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ต้นขา หน้าแข้ง และเท้า แต่ละส่วนมีแนวทางการตรวจติดตาม และรักษา แตกต่างกันเล็กน้อย การบิดหมุนของส่วนต้นขา พบมากที่สุด ส่วนใหญ่จะหายได้เอง ก่อนอายุ 10 ปี การดัดและการตัดรองเท้า ไม่ช่วยในการหาย พยายามเลี่ยงการนั่งในท่า W แต่ไม่จำเป็นต้องให้นั่งขัดสมาธิ ในเด็กที่ทำไม่ได้ อาจให้นั่งเหยียดขาแทนเวลานั่งพื้น การตัดรองเท้าอาจพิจารณาในรายที่เป็นมากจนเท้าสะดุดกันเองเวลาวิ่ง การผ่าตัดอาจไม่จำเป็นถ้าไม่มีปัญหาในการดำรงชีวิต และหากจะทำควรทำเมื่อเด็กโตมากแล้ว การบิดหมุนของหน้าแข้ง พบได้น้อยเมื่อเทียบกับบริเวณอื่น ส่วนใหญ่จะหายเองก่อนอายุ 4 ปี การรักษาเบื้องต้นเพียงติดตามอาการเท่านั้น การผ่าตัดอาจไม่จำเป็นถ้าไม่มีปัญหาในการดำรงชีวิต และหากจะทำควรทำเมื่อเด็กโตมากแล้ว การบิดหมุนที่เท้า พบได้ค่อนข้างบ่อย สังเกตได้จากเท้าจะโค้งคล้ายกล้วย ถ้าสามารถดัดได้ง่าย โอกาสหายเองสูง ถ้าดัดได้ยากอาจพิจารณาใส่เฝือกหรือตัดรองเท้าช่วย ส่วนใหญ่หายเองก่อน 4 ขวบ ในกรณีที่ยังเป็นจนโต อาจพิจารณาผ่าตัดในรายที่มีปัญหาการใส่รองเท้า และกังวลเรื่องความสวยงาม